พระราชประวัติ ของ พระบรมราชา (มัง)

เชื้อสาย

พระบรมราชา (มัง) มีพระนามเดิมว่า ท้าวมัง หรือ เจ้าศรีสุมังค์ ในเอกสารพื้นเวียงจันทน์ออกพระนามว่า พระบุรมราชา ในจดหมายเหตุเกี่ยวกับเขมรและญวนในรัชกาลที่ 3 ฉะบับที่ 11 หนังสืออุปฮาดเมืองหลวงมูเลงออกพระนามว่า เจ้าพระนคร เดิมทรงพระยศเป็นที่เจ้าราชบุตร คณะอาญาสี่เมืองนครพนม แต่เมื่อครั้งพระราชบิดาดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองนครพนม พระบรมราชา (มัง) ทรงถือกำเนิดในราชวงศ์ศรีโคตรบูร ซึ่งเป็นราชวงศ์อันเอาแก่ราชวงศ์หนึ่งของราชอาณาจักรล้านช้าง ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบรมราชา (อุ่นเมือง) เจ้าผู้ครองเมืองนครพนม เป็นพระราชนัดดาในพระบรมราชา (ศรีกุลวงษ์) เจ้าเมืองนครพนม บ้างก็ว่าเป็นพระราชนัดดาในพระบรมราชา (กู่แก้ว) ซึ่งเป็นพระราชโอรสในพระบรมราชา (แอวก่าน) เอกสารบางแห่งกล่าวว่าพระบรมราชา (มัง) ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบรมราชา (สุดตา) เจ้าผู้ครองเมืองนครพนม พระบรมราชา (สุดตา) ผู้เป็นพระราชบิดานี้เดิมมียศเป็นเจ้าอินทร์ศรีเชียงใหม่หรือพระศรีเชียงใหม่ เป็นอดีตเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ของเมืองนครพนม มีศักดิ์เป็นพระราชอนุชาในพระบรมราชา (ศรีกุลวงษ์) เจ้าเมืองนครพนมพระองค์ก่อน และเป็นพระสวามีของพระเชษฐภคินีในพระบรมราชา (พรหมา) เจ้าเมืองนครพนม (ต้นสกุล พรหมประกาย ณ นครพนม)[1] เอกสารบางแห่งกล่าวว่า พระบรมราชา (มัง) ทรงเป็นหลานปู่ในพระยาเถินหรือเจ้าหล่องเมืองเถินของลาว และเป็นหลานลุงในพระบรมราชา (ศรีกุลวงษ์) เจ้าเมืองนครพนม[2]

อนึ่ง ปฐมราชตระกูลและเครือญาติของพระองค์ทรงปกครองหัวเมืองใหญ่น้อยในราชอาณาจักรล้านช้าง จนถึงสมัยปฏิรูปการเมืองการปกครอง พ.ศ. 2444 นับรวมได้ 17 หัวเมือง คือ นครบุรีราชธานีศรีโคตรบูรหลวง (เมืองนครพนม) เมืองมรุกขนคร เมืองเก่าหนองจันทน์ เมืองศรีโคตรบอง (เมืองเซบั้งไฟ) เมืองธาตุพนม (เมืองพนม) เมืองคำเกิด เมืองมหาชนไชยก่องแก้ว (เมืองมหาชัยกองแก้ว) เมืองกวนกู่ เมืองกวนงัว เมืองสกลนคร เมืองรามราช เมืองสุวรรณเขต เมืองมุกดาหารบุรี (เมืองบังมุก) เมืองภูวดลสอาง (บ้านภูหวา) เมืองภูวานากระแด้ง (บ้านนากระแด้ง) เมืองพนัสนิคม เมืองเถิน

พี่น้อง

พระบรมราชา (มัง) มีพระราชเชษฐาพระราชอนุชารวม 5 พระองค์ ดังนี้

  • พระบรมราชากิตติศัพท์เทพฤๅยศ ทศบุรีศรีโคตรบูรหลวง (มัง) เจ้าเมืองนครพนม
  • พระยาพนมนครานุรักษ์สิทธิศักดิ์เทพฤๅยศ ทศบุรีศรีโคตรบูรหลวง (อรรคราช) เจ้าเมืองนครพนม
  • เจ้าราชบุตร คณะอาญาสี่เมืองนครพนม (พิราลัยด้วยถูกพวกญวณฆ่า)
  • เจ้าราชศรียา กรมการเมืองนครพนม
  • ท้าวโคตะ กรมการเมืองนครพนม

เสวยราชย์เมืองนครพนม

วิวาทกับเจ้าอุปฮาด

หลังจากพระบรมราชา (อุ่นเมือง) ได้ถึงแก่พิราลัยใน พ.ศ. 2347 แล้ว เจ้าราชวงศ์ (มัง) จึงได้ขึ้นเสวยราชย์เป็นเจ้าเมืองนครพนมองค์ต่อไปต่อจากพระราชบิดาของตน ตามราชธรรมเนียมเจ้านายหัวเมืองลาวในการขึ้นเป็นเจ้านครที่ถือสืบต่อกันมาเป็นโบราณราชประเพณีนั้น ผู้ที่ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอุปฮาตจะต้องได้รับการแต่งตั้งหรือขึ้นเสวยราชย์แทนเจ้าเมืององค์ก่อน ส่วนเจ้าราชวงศ์และเจ้าราชบุตรนั้นมีสิทธิ์เป็นลำดับที่ 2 และที่ 3 ต่อจากเจ้าอุปฮาต เมื่อเป็นดังนี้แล้วเจ้าอุปฮาต (ไชย) บุตรพระบรมราชา (ศรีสุราช) เจ้าเมืองนครพนมองค์ก่อนก็เกิดความไม่พอใจ จึงอพยพครอบครัวและบ่าวไพร่ในกองอุปฮาตของตนยกลงไปยังกรุงเทพมหานคร เจ้าแผ่นดินสยามจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าอุปฮาด (ไชย) และไพร่พลตั้งรกรากบ้านเรือนอยู่ ณ เมืองสมุทรปราการ ภายหลังจึงได้แยกย้ายกันไปตั้งบ้านเรือนอยู่ ณ เมืองพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี และเมืองพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ทางฝ่ายเมืองนครพนมนั้นได้มีการแต่งตั้งให้เจ้าศรียาหรือเจ้าราชศรียาผู้พระราชอนุชาพระบรมราชา (มัง) ขึ้นเป็นเจ้าราชวงศ์ ในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ ฉบับหอสมุดแห่งชาติ ได้กล่าวถึงเหตุการณ์การอพยพครั้งนี้ว่า

'"...ในปีมะเส็งศกนั้น (พ.ศ. 2352) พระบรมราชาเจ้าเมืองนครพนมวิวาทกับท้าวไชยอุปฮาด พวกบ่าวไพร่อุปฮาดไม่ยอมอยู่ในบังคับบัญชาพระบรมราชา อุปฮาดจึงพาสมัครพรรคพวกประมาณ 2,000 คนเศษ อพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารในกรุงเทพมหานคร มาถึงกรุงเมื่อเดือนยี่ โปรดให้ตั้งบ้านเรือนอยู่ ณ คลองมหาวงศ์เมืองสมุทรปราการ และให้ทำบัญชีสำรวจได้ชายฉกรรจ์ 860 คน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท้าวอินทรสารบุตรผู้ใหญ่อุปฮาด เป็นพระยาปลัดเมืองสมุทรปราการ ดูแลควบคุมพลพวกนั้นต่อมา..."[3]

ถวายพระราชธิดา

ในเอกสารเพ็ชรพื้นเมืองเวียงจันทน์กล่าวว่า พระบรมราชา (มัง) มีพระราชธิดาพระองค์หนึ่ง พระองค์ได้ถวายไว้เป็นพระชายาในเจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ เพื่อเป็นการเชื่อมสัมพันธไมตรีทางเครือญาติของราชวงศ์ศรีโคตรบูรจากเมืองศรีสิทธิศักดิ์โคตรบองหลวงหรือเมืองนครพนมกับราชวงศ์เวียงจันทน์จากกรุงศรีสัตนาคนหุต ภายหลังเจ้าอนุวงศ์ถูกกองทัพสยามจับได้ พระนางได้สูญเสียพระราชโอรส 1 พระองค์ และถูกทัพสยามของเจ้าพระยาราชสุภาวดีจับได้ภายหลังที่ปากน้ำกระดิงตรงข้ามฝั่งหนองคาย จากนั้นจึงถูกนำไปทูลถวายแด่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ดังปรากฏความว่า

"...แต่นั้น พระนางสอนเทวีเจ้ายั้งขหม่อม นางนั้นเป็นชาติเชื้อลครแท้หน่อเมือง นางก็มีลูกแก้วบุตเรศหมื่นนาน ทรงโฉมศรีใหญ่มาสอนหน้า นางก็พลัดลูกแล้วกับพระบาทผัวขวัญ แต่เมื่อปางหนีเมืองพ่ายไทย จริงแท้ พระก็ปลงอาชญ์ให้เอาตนลี้อยู่ ฝูงหมู่จับหมวดเจ้าพาลี้ฝ่ายพวน หั้นแล้ว อันว่ากุมารนั้นตามองค์ภูวนารถ จริงแล้ว นางก็ฮู้ข่าวว่าพระลูกแก้วมรณ์เมี้ยนมิ่งมรณ์ แท้แล้ว นางก็อาวรณ์เอ้าขนังทรวงดิ้นดั่น ซดๆ ไห้น้ำตาย้อยหลั่งไหล โรทันตาไห้หาเมืองทั้งลูก นางก็กลับต่าวหน้าเฮือแล้วล่องลง เพื่อจักไปแจกเข้ากินทานหาลูก นางก็เซาจอดยั้งภายใต้ปากสดิงฯ แต่นั้น โยธาเจ้าทัพพาวดีฮู้ข่าว เขาก็ลัดเฮ่งขึ้นทางน้ำด่วนพลัน เลยเหล่าเถิงจอมเจ้านางครวญเซาจอด เขาก็วงแวดล้อมจอมเจ้าสู่ภาย ฝูงหมู่จับหมวดเจ้านางงามปบพ่าย เขาก็โตนล่องน้ำหนีเสี้ยงสู่ภาย ยังแต่องค์นางเจ้าตนเดียวสถิตอยู่ ว่าจักปบแล่นเต้นหนีแท้ก็บ่เป็น นางก็สวางจิตต์แห้งแปลงตนตั้งอยู่ เขาก็เอาแจ่มเจ้าพระนางได้ด่วนกลาย แล้วเหล่าเมือถวายเจ้าของหลวงทูลขม่อม เจ้าก็ปลงเครื่องให้ของล้วนราชทานฯ..."[4]

สร้างเมืองท่าแขก

ภายหลังจากเจ้าอนุวงศ์ทรงถอยทัพจากนครราชสีมาแล้ว สยามได้ยกทัพตามขึ้นมานครเวียงจันทน์ พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมราชา (มัง) สร้างเวียงท่าแขกขึ้นที่ฝั่งตรงข้ามเมืองนครพนม เพื่อกวาดต้อนผู้คนจากฝั่งขวาให้หนีศึกจากสยามเข้ามาอาศัยอยู่ พร้อมทั้งสั่งให้เจ้าเวียงแกเจ้านายจากนครเวียงจันทน์มาเป็นผู้ช่วยควบคุมการก่อสร้างเวียง หลังจากสยามยกทัพขึ้นมาประชิดน้ำโขงแล้วทำให้การสร้างเวียงท่าแขกหยุดชะงักลงชั่วระยะเวลาหนึ่ง ดังปรากฏความในเอกสารเพ็ชรพื้นเมืองเวียงจันทน์ ดังนี้

"...แต่นั้น เคืองพระทัยเจ้าองค์ยั้งขม่อมหลวง พระก็จัดไพร่พร้อมดาห้างแต่งตัว เฮาจงคืนเมืองตั้งหนองบัวขนันอยู่ ภายพุ้น แต่ว่าครัวขี้ฮ้ายอย่าต้านต่อซน ท่านเอ๋ย พระก็ฮับสั่งให้เจ้าแห่งเมืองลคร เจ้าจงพาพลคืนอย่านานคาค้าง คันว่าเมือเถิงห้องอย่านานเฮ็วฮีบ จริงเทอญ จัดไพร่ข้ามของแท้อย่านาน หั้นท่อน แล้วจึงพาพลตั้งแปลงเวียงขนันอยู่ แฝงฝ่ายน้ำทางพุ้นแวดระวัง เที่ยวเทอญ ฯ แต่นั้น หัวเมืองเจ้าชาวลครไวฮีบ อ่วยหน้าช้างคืนแท้บ่นาน ทั้งวันแท้ทั้งคืนเขียวถีบ ย่านแต่เศิกลัดต้อนตันฆ่าหว่างทาง เศิกเหล่าเลยถีบม้าเต้นไล่ตามหลัง เจ้าก็อวนกำลังต่อเลวหนีแท้ ตั้งแต่ครราชเท่าเถิงเขตต์ขงละมุม เขาก็นำไปลัดที่โพนทันม้า ตันขนันต้อนครัวไทยยายอยู่ เขาก็ฮัดเฮ่งต้อนตันหน้าสู่ทาง ม้มจากหั้นเถิงท่งเชียงไต เขาก็ไหลพลนำผ่าเลวฟันฆ่า ก็จึงเถิงแห่งห้องขงเขตต์เมืองพิมาย กลายแดนไทยด่วนเมือทั้งฟ้าว วันคืนแท้บ่มีนานยามยีบ ก็จึงเถิงแห่ห้องลครแท้ที่ตน หั้นแล้ว เจ้าก็ใช้ถีบม้าไปป่าวขงลคร จัดครัวไปข้ามของอย่าช้า ไผอย่าดลคาค้างจักคนลูกอ่อน จริงเทอญ ปัดกวาดข้ามของแท้สู่คน เทียวเทอญ ย่านแต่ครัวจิ่มใกล้ลุกขึ้นเป็นเศิก บ่ฮู้ เห็นแต่ครัวเต็มเมืองสู่ภายจริงแท้ โตหากไปเทม้างเมืองเขาปัดกวาดมานั้น มันก็ดูมากล้มกลัวย่านหมู่เขา แท้แล้ว เขาหากอยู่ครราชพู้นติดต่อตามมา ไผบ่อาจมืนตาฮบต่อซนเขาแพ้ แต่ภูเขาขั้นเท่าที่ศรีคอนเตา ศีร์ษะเกษเขาก็มาอยู่เต้าเต็มแท้สู่ภาย แล้วเหล่าเอาตัวข้ามแคมของปัดขอด ลาวหมู่นั้นแทนบ้านสู่ภาย หั้นแล้ว ฯ แต่นั้น เจ้าก็จัดคนสร้างแปลงเวียงท่าแขก ลวงกว้างได้สามฮ้อยชั่ววา เวียงจันทร์เจ้าเวียงแกเป็นแก่ มาแนะให้เขาตั้งก่อเวียง ลวงสูงได้พอประมาณเจ็ดศอก ใหญ่แลน้อยเวียนอ้อมสี่กำฯ..."

"...เถิงเมื่อเดือนหกขึ้นสิบสองค่ำ มาเถิง เจ้าก็แปลงตราขัดฮอดละครมิช้า เจ้าให้หาเกณฑ์คนกล้าไปตีเหมราษฐ เสียเทอญ เหตุว่าเหมราฐนั้นเขาเกิดเป็นเศิกขึ้นแล้ว ให้เจ้าไปตีเสียอย่ากลายเดี๋ยวนี้ อันว่าปลูกเวียงนั้นเซาดูหยุดก่อน หั้นเทอญ จักว่าดีแลฮ้ายเมือหน้าบ่เห็น ฯ แต่นั้น นายคุมเจ้าเวียงแกแจ้งเหตุ เจ้าก็ฮัดเฮ่งขึ้นทั้งฟ้าวบ่เซา เจ้าก็กลับเมือเฝ้าบาทายั้งขม่อม เห็นแต่เฮือตั้งเต้าเต็มน้ำกึ่งกอง...แต่นั้น เมืองละครพร้อมมหาไชยฟ้าวฟั่ง ไปฮอดท่าแขกแล้วบ่เห็นแท้ที่ใด เห็นแต่ลาวเต็มเต้าเมืองลครของเก่า ภายพุ้น เขาก็คืนคอบไหว้องค์เจ้าสู่อัน หั้นแล้ว แกวก็เลยเคียดคล้อยป้อยด่าคำแข็ง สูอย่าเลิงๆ ตัวะล่ายกูฉันนี้ อันว่าของฟากนั้นบ้านอยู่เดิมเขา แท้นา สูว่าเศิกมาเต็มฝ่ายเฮาภายนี้ สูจงไปตั้งค่ายเป็นด่านหนองหลาง หั้นเทอญ กูจักเอากำลังเคลื่อนไปในหั้น หน่วยหนึ่งตั้งท่าแขกแคมของ ที่พุ้น ผุงหมู่ไทยเมืองสูอยู่ตระเวนภายหั้น คันว่าเศิกหากข้ามยามใดให้มาคอบ กูเทอญ กูก็บ่หย่อนย้านเสียมนั้นท่อใย แท้แล้ว ให้สูจัดมาเฝ้ายังกูให้มันมาก จริงเทอญ กูนี้คนเจ้าฟ้าหาญแท้อยู่กลาง หั้นแล้ว ฯ..."

เสวยราชย์เมืองนครราชสีมา

ในเอกสารเพ็ชรพื้นเมืองเวียงจันทน์ ตอนพญาเมืองลครครองโคราช กล่าวถึงเมื่อครั้งเจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ได้กรีฑาทัพเข้าบุกเมืองนครราชสีมาและยึดเมืองไว้ได้ พระองค์ทรงตั้งให้พระบรมราชา (มัง) ขึ้นเป็นผู้ครองเมืองนครราชสีมา พร้อมทั้งชื่นชมว่าพระบรมราชา (มัง) นี้เป็นผู้มีสติปัญญาดี ดังปรากฏรายละเอียดต่อไปนี้

"...แต่นั้น เมืองละครเจ้าลาพระองค์เลยพราก ดั้นดุ้งฝ้ายหลายมื้อถีบคราว ก็จึงเถิงแห่งห้องสีมานครราช เห็นแต่ครัวหยี่งเต้าเต็มแท้สู่ภาย ฟังยินเสียงเสพเจ้ายั้งขม่อมองค์กษัตริย์ พุ้นเยอ คือดั่งอินทร์พรหมผายพลากลงสวรรค์ฟ้า อรชรกลั้วกลมกันพิณพาทย์ เสียงปี่แก้วกลมกลั้วกล่อมลคร พลแพนเจ้าเวียนระวังฮักษาอยู่ หอกแลง้าวยองเข้มเฮื่อเฮือง กากาดซร้องหลายช่อชุมชัน ยายกันปักปิ่นปลายเมือฟ้า เสนาล้อมพันถันแถวถี่ คนชาติชั้นถือง้าวแห่พระองค์ฯ แต่นั้น ราชาเจ้าลครฟ้าวฟั่ง ลงจากช้างดาห้างแห่งตัว แล้วเหล่าไปเฝ้าเจ้ายั้งขม่อมเหนือหัว ถวายกรสารขาบทูลทรงแจ้ง พระก็แจ้งเหตุแล้วไขพระโอฐหุมหัว พระก็ปลงประทานตรัสโผดลงมิช้า อันว่าพญาเมืองลครนี้คนดีผยามาก จริงแล้ว เฮาก็คึดชอบข้อคนิงแม่งแม่นพระทัย ท่านจงเข้าอยู่ยั้งแท่นที่พญาพรหม หั้นเทอญ อย่าได้กลัวเกรงสังอยู่สบายจริงแท้ อันว่าโฮงมันนั้นเจ็ดหลังกว้างยิ่ง เป็นแผ่นพื้นเดียวแท้ก่ายกัน แท้แล้ว ท่านจงพาพลเข้าไปเซายั้งอยู่ อยู่ถ่างกินหมู่พร้าวหวานส้มแม่นใจฯ แต่นั้น เจ้าก็ฮับอาชญ์แล้วทูลเลิกเลยลา เถิงพลตนด่วนไปมิช้า ฮอดที่แล้วเซาจอดโยธา คนสองพันบ่เต็มจริงแท้ อันนี้หากแม่นโฮงมันแท้ พญาพรหมนครราช แคบแลกว้างคนิงหั้นสู่อัน เบิ่งท่อน ฝูงหมู่ไทยเวียงเอ้าเต็มเมืองเสียงสนั่น เขาก็หาซอกไซร้เอาแท้สิ่งของ ฝูงตาลพร้าวฟันลงเดียรดาษ หมูไก่พร้อมเขาฆ่ามุ่นวาย นครราชฮ้างปละเปล่าสูญเสีย เหนแต่ฝูงโยธาแห่งพระองค์เป็นเจ้า แม่นว่าของเขาไว้สระหนองซุกเสื้องก็ดี เขาก็หาซอกไซร้เอาเสี้ยงบ่หลอ ฝูงหมู่เจ๊กไทยไห้ฮ้องแล่นไปมา ของเขาเสียสู่อันกำลังฮื้อ สาวไทยพร้อมสาวมอญเป็นหมู่ เขาก็เหน็บเตี่ยวจ้อนจำก้นสู่คน เขาก็ขนเอาเข้าทั้งเกลือไปส่ง ครัวนั้น ยาบๆ แส้ทั้งมื้อบ่เซา หั้นแล้วฯ..."[5]

เสด็จหนีจากเมืองนครพนม

เสด็จไหว้พระมหาธาตุพนม

ใกล้เคียง

พระบรมราชา (มัง) พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระปิยมหาราชและสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า พระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์ พระบรมราชานุสรณ์สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี พระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์ พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระบรมราชานุญาต พระบรมราชาที่ 7 พระบรมราชา (เจ้าพระยาญาติ)